วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชื่องานวิจัย : การศึกษาความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่องการวาดรูปทรงและการจำตัวเลข

ชื่อผู้แต่ง : อาภา พัฒนประสิทธิ์

จุดมุ่งหมาย : 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่องการวาดรูปทรงและการจำตัวเลข

                  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังการสอนโดยใช้ชุดการสอน เรื่องการวาดรูปทรงและการจำตัวเลข

สรุปผลการวิจัย

              จากการศึกษาความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะ เสี่ยงต่อการมีปัญหาต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่องการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนประภาสวิทยา สังกัดกรุงเทพมหานคร  พบว่า ความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้หลังการได้รับการใช้ชุดสอนการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขแล้วสามารถจำตัวเลขได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05






วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

ครั้งที่ 16  วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556


อาจารย์นัดวันสอบ และกิจกรรมต่างๆ ดีงนี้

1) กีฬาสี

2) ไปดูงาน


อาจารย์ให้เขียนความรู้ที่ได้รับ ทักษะที่ได้รับ และวิธีการสอน





บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

ครั้งที่ 15 วันงอังคารที่  12  กุมภาพันธ์ 2556

เพื่อนๆของมาสอนหน่วย ร่างกาย

ความรู้ที่ได้รับ

- ต้องมีภาพมาแปะ  เพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ได้

- เวลาสอนเราอาจใช้เพลงมาใช้ในการทบทวน

- ไม่ควรนำภาพเนื้อหามาเยอะเกินไป

- การวาดลักษณะควรวาตามลักษณะที่เป็นจริง

- หลังจากมีการเปรียบเทียบ  ก่อนสอนต่อไปควรทบทวนโดยถามว่ามีอะรไที่เหมือนกันบ้าง

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

ครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556


เพื่อนๆออกมาสอนหน้าชั้นเรียน  หน่วยกระดุม

 


อาจารย์ถามความคืบหน้าของการแสดงที่จะแสดงในวันพุธ





บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

ครั้งที่ 13  วันอังคารที่ 25 มกราคม 2556

อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาเรื่องต่างๆ ดังนี้

1) กีฬาสี

2) กิจกรรมการแสดงวันพุธ โดยให้นักศึกษาช่วยกันคิดวางแผนว่าจะแสดงอะไร ใครทำหน้าที่อะไรบ้าง

    ซึ่งมี รำ  ร้องเพลง  โฆษณา  พิธีกร  การแสดง ผู้กำกับหน้าม้า

3) อาจารย์นำการแสดงวันพุธมาประยุกต์กับวิชาคณิตศาสตร์


วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

ครั้งที่ 12  วันอังคารที่ 22 มกราคม 25556

- เพื่อนๆสอบสอน

- เวลาจะติดตัวเลขกำกับค่าของ ให้ติดที่ตัวสุดท้าย เพราะเด็กจะได้รู้ว่า เมื่อนับมาถึงสุดท้ายแล้ว มันจะมีค่าเท่าไร

- การสอน ถ้าสอนเรื่องลักษณะของสิ่งต่างๆ ให้ส่งให้เด็กดม สัมผัส สังเกต

- การสอน ถ้าเป็นเศษส่วน ให้สอดคล้องตรงที่ แบ่งของ เช่น ให้เด็กชิมเค้ก เป็นต้น

- การสอนเด็กถ้าเป็นเนื้อหาที่เป็นความรู้หรือวิชาการมากๆควรทำให้เป็นนิทาน



มาตารฐานทางคณิตศาสตร์มี 6 มาตารฐาน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

ครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556

อาจารย์แนะนำวิธีการสอนหน้าชั้นเรียนว่าควรพูดควรสอนเด็กอย่างไร

หมายเหตุ * อาจารย์ขอออกก่อนเวลา เนื่องจากติดประชุมด่วน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

ครั้งที่ 10  วันอังคารที่ 8 มกราคม 2555

- อาจารย์ให้ส่งงานประดิษฐ์ดอกไม้

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์

มาตราฐานที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ >การเข้าใจถึงความหลากหลายของจำนวนและนำจำนวนไปใช้ในชีวิตจริง
-จำนวน > การนับ ค่า ตัวเลข
-การดำเนินการ > วิธีการดำเนินการหรือขั้นตอนต่างๆ

มาตราฐานที่ 2 การวัด > ค่า ปริมาณ น้ำหนัก พื้นที่

มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
-รูปทรงเรขาคณิต > ทรงกรวย ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
-ตำแหน่ง > ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-ทิศทาง > เหนือ ใต้ ออก ตก
-ระยะทาง > ตัวเลข หน่วย เครื่องมือ

มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต > เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูป > การเขียนตัวอักษร การเขียนตัวเลข การประกอบรถของเล่น
-ความสัมพันธ์ > ตารางสัมพันธ์ 2 แกน เป็นการเตรียมให้เด็กเรียนรู้เรื่องกราฟ

มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น > รวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-รวบรวมข้อมูล > สถิติ

มาตราฐานที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ > นำทุกอย่างมาประยุกต์ใช้




สสวท. มี 6 มาตรฐาน


1. จำนวนและการดำเนินการ


2. การวัด - เครื่องมือ/อุปกรณ์


             - ค่า / ปริมาณ  เช่น การวัดอุณหภูมิ การวัดน้ำหนัก การวัดพื้นที่  เป็นต้น

3.เรขาคณิต  - สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก

                  - การบอกตำแหน่ง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นต้น

                  - การบอกทิศทาง เช่น  ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก  ทิศตะวันตก

                  - ระยะทาง  เช่น  ค่า,ใช้เครื่องมือวัด,หน่วย

4.พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ (เกมการศึกษาและความสัมพันธ์ 2 แกน) เป็นการสอนเรื่องกราฟให้กับเด็ก

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (การรวบรวมและนำเสนอข้อมูล)


6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

งานที่ได้รับมอบหมาย

สอบสอนตามแผนของแต่ละคน





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

ครั้งที่ 9 วันอังคารที่  1  มกราคม 2556





 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่
 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

ครั้งที่ 8 วันอังคารที่  25 ธันวาคม 2555




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

ครั้งที่ 7 วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ แต่จะชดเชยในภายหลัง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

ครั้งที่ 6 วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555

- ส่งแผนของหน่วยที่กลุ่มตัวเองสอน [หน่วยเรื่องบ้าน]






อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วนำกล่องที่เตรียมมาต่อกันให้เป็นอะไรก็ได้ตามต้องการ




แบบที่ 1 ให้แต่ละคนนำกล่องมาวางเรียงต่อกันทีละคน โดยห้ามคุยกัน ต่างคนต่างวาง แล้วถามทีละคน ว่ากำลังจะต่ออะไร อยากให้เป็นอะไร

แบบที่ 2 พูดคุยปรึกษากันเพื่อวางแผนในการสร้างผลงานจากกล่อง

แบบที่่ 3 แต่ละกลุ่มนำผลงานมาจัดเป็นนิทรรศการ โดยบรูณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ในเรื่องของตำแหน่ง ทิศทาง ประเภท การจัดลำดับ การนับ


งานที่ได้รับมอบหมาย

ประดิษฐ์สื่อจากแกนกระดาษทิชชู 3 ชิ้น