วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่  20  พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

- อาจจารย์ให้คำชี้แนะเกี่ยวกับหน่วยที่อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปคิด

- อาจารย์ให้ร้องเพลง

เพลง โปเล โปลา

โปเล โปเล โปลา โปเล โปเล โปลา

เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขวา ทำลูกคลื่นทะเล

ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม

ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว


สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากเนื้อเพลง

 > 1 2 3  เด็กได้รู้เรื่อง การนับปากเปล่า

 > มือซ้ายขวา เด็กได้รู้เรื่องตำแหน่ง

การเขียนหน่วยการเรียนรู้

- เรื่องที่จะนำมาสอนเด็กต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีผลกระทบต่อตัวเด็ก

เนื้อหาของแต่ละหน่วย

 1. ชื่อ (ถ้ามี)

 2. ชนิด / ประเภท

 3.ลักษณะ  เช่น  สี , ขนาด , พื้นผิว , วัสดุที่ใช้ , กลิ่น (เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้) , รสชาติ

(เนื้อหาที่เกี่ยวกับสิ่งที่รับประทานได้)

 4. ประโยชน์ มี 2 แบบ คือ  - ประโยชน์ / คุณค่าในตัวของมันเอง

                                     - ประโยชน์ที่นำไปประยุกต์ใช้

5. โทษ / ข้อควรระวัง

6. การขยายพันธุ์  สำหรับหน่วยที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

7. การผลิต   สำหรับหน่วยที่ไม่มีชีวิต

8. การดูแลรักษา

 




วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมในการเรียนการสอน

- อาจารย์แจกกระดาษ 4 คน ต่อ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้ 1 ภาพพร้อมเขียนชื่อ-นามสกุล



- อาจารย์กำหนดเกณฑ์ขึ้นมาแล้วให้นักศึกษานำภาพไปติดบนกระดาน เช่น สิ่งที่ไม่มีชีวิต เป็นต้น

- อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เช่น เพลงแมลงปอ 5 ตัว เป็นต้น

- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน สร้างหน่วยขึ้นมา 1 เรื่อง แล้วแตกเนื้อหา





ความรู้ที่ได้รับ

- การที่คนเรารู้หรือตอบคำถามได้นั้นแสดงว่าเรามีความรู้จากประสบการณ์เดิม

- ภาษากับคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่จะซึมซับและถ่ายทอด

- วิธีการให้ประสบการณ์เด็ก คือ ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์บนพื้นฐานของคณิตศาสตร์ ซึ่งเกี่ยว

  ข้องในชีวิตประจำวัน

- เด็กจะเลียนรู้จากการทำตามแบบอย่างและเลียนแบบจากครู

- คณิตศาสตร์เวลาที่เราแบ่ง จำแนกประเภทนั้นเราต้องตั้งเกณฑ์ขึ้นมา ซึ่งเกณฑ์นั้นจะต้องสร้างเกณฑ์
 
  เดียว เพราะจะช่วยทำให้เด็กเข้าใจง่ายและไม่สับสน

- คณิตศาสตร์ของเด็ก การนับ > ค่า > จำนวน > แทนค่าด้วยเลขฮินดูอาราบิก

- การสอนคณิตศาสตร์เราสามารถใช้สื่อ เช่น เพลง คำคล้องจอง นิทาน เกมการศึกษา เป็นต้น

- เกมการศึกษา > ลอตโต้ คือ การศึกษารายละเอียดของภาพ

                    > แกนสัมพันธ์ 2 แกน

                    > โดมิโน่ คือ ภาพต่อปลาย

                    > จิ๊กซอ คือ นำภาพย่อยมาต่อเป็นภาพใหญ่ที่สมบูรณ์

                    > จับคู่  คือ ภาพเหมือน สี ขนาด (ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เราจะเอาไปใส่)

                    > เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ คือ มีความเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง

                    > อนุกรม เป็นการเชื่อมโยงที่เป็นชุดๆ

                    > อุปมา - อุปมัย  เช่น  สีเขียว - ต้นไม้

- กิจกรรมกลางแจ้ง  แบ่งออกเป็น 1. เกมเบ็ดเตล็ด ไม่มีกติกามากมาย,ไม่มีรูปแบบตายตัว

                                            2. เกมแบบผลัด

                                            3. เกมเสรี เลือกเล่นตามความต้องการของตนเอง




วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้รับ

สิ่งที่เกิดการเรียนรู้ คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คำว่า " คณิตศาสตร์ "คือ 1.สาระสำคัญ
                          
                                 2.ประสบการณ์สำคัญ

คำว่า " เด็กปฐมวัย " ประกอบด้วย
        
           พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับ เป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถของเด็ก

            > แรกเกิด - 2 ปี จะอยู่ในช่วงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กจะมีการรับรู้ ซึมซับความรู้ที่

หลากหลาย เมื่อนำมารวมกันเชื่อมโยงกันก็จะกลายเป็นความรู้ได้ ใช้สื่อ 3 มิติ จับต้องได้

            > อายุ 2 - 6 ปี  เมื่ออายุ 4 - 6 จะเริ่มใช้เหตุผลได้บ้าง จะใช้สื่อ 2 มิติ และสื่อที่เป็น

รูปธรรม ใช้สื่อที่เป็นภาพได้  เมื่ออายุได้ 6 ปีปลายๆเริ่มใช้สัญลักษณ์ได้ เริ่มใช้เหตุผลได้

กิจกรรมหลักมี 6 กิจกรรม

1. เคลื่อนไหวและจังหวะ

2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

3. การจัดศิลปะสร้างสรรค์

4. กิจกรรมการจัดประสบการณ์กลางแจ้ง

5. การจัดประสบการณ์เสรี

6.เกมการศึกษา

กิจกรรมในการเรียนการสอน

- อาจารย์กับนักศึกษาสร้างข้อตกลงร่วมกัน

- อาจารย์ให้เขียนตอบคำถาม ดังนี้

  1. ความหมายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจ ( 1 ประโยค )

  2. การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิชานี้ควรเรียนรู้อะไรบ้าง